เบอร์โทรศัพท์: โทร 053-942-504

ที่อยู่:คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

ประวัติความเป็นมา

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต (Master of Public Health) ได้ทําการเปิดสอนขึ้นเป็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2530 โดยจัดทําเป็นหลักสูตรความร่วมมือระหว่างคณะในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับทาง School of Public Health, University of Alabama at Birmingham โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก University of Alabama at Birmingham และ WHO โดย เปิดสอนเป็นหลักสูตรนานาชาติ รับปริญญาของหลักสูตรฯ จาก University of Alabama at Birmingham โดยตรง มีระยะเวลาในการศึกษา 1 ปี ซึ่งมีผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรฯ ดังกล่าวจากหลายประเทศในภูมิภาคเอเซีย ได้แก่ ประเทศศรีลังกา สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และไทย ทั้งนี้หลักสูตรฯ ดังกล่าวได้เปิดสอนเพียงแค่เวลา 1 ปีก็สิ้นสุดโครงการ หลังจากนั้นผู้บริหารของกลุ่มคณะสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ รองศาสตราจารย์ทันตแพทย์ สัมพันธ์ ศรีสุวรรณ ได้ปรึกษาหารือร่วมกับคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ และ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ อ.ดร.ทองปาน เทียมราช ในสมัยนั้น โดยเล็งเห็นความสําคัญของ การจัดทําหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต (ภาษาไทย) ที่อยู่ภายใต้มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ เพื่อรองรับความต้องการศึกษาต่อเนื่องของ บุคลากรทางสาธารณสุขในประเทศ และได้เชิญชวนให้คณะแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ และสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้เข้ามาร่วมในการดําเนินการเพื่อจัดการเรียนการสอน โดยจัดทําเป็นหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษา ไทย) เป็นหลักสูตรสหสาขาวิชา ภายใต้การบริหารจัดการของบัณฑิตวิทยาลัยร่วมกับทุกคณะในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เปิดสอนรุ่นแรกใน พ.ศ. 2533 โดยการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ได้แก่ คณาจารย์ผู้สอน บุคลากรสายสนับสนุน อาคารสถานที่ จากกลุ่มคณะสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และได้เปิดต่อเนื่องสืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีบัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรฯ ดังกล่าวมากกว่า 200 คน ทํางานกระจายอยู่ในหน่วยงาน ด้านสาธารณสุขและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศ ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นําโดยท่านนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย คณะ กรรมการสภา ฯ และท่านอธิการบดี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อาวุธ ศรีสุกรี ได้เล็งเห็นความสําคัญของการจัดเรียนการสอนในระดับ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข การพัฒนาการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศและของภูมิภาค การพัฒนาต่อยอดองค์ ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้จากการศึกษาวิจัยเพื่อนําไปสู่การแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของชุมชนอย่างยั่งยืน สามารถพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ ให้เป็นการศึกษาต่อเนื่องไปจนถึงระดับปริญญาเอก และควรเป็นหลักสูตรที่มีความเป็นนานาชาติที่สามารถสร้างเครือข่ายการทํางานร่วมกับ มหาวิทยาลัยชั้นนําทั้งในประเทศและต่างประเทศ ฉะนั้นเพื่อให้สามารถบริหารจัดการและการระดมทรัพยากรที่เอื้อต่อทิศทางการพัฒนาของ หลักสูตรฯ ดังกล่าว สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้มีมติเห็นสมควรให้จัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ขึ้นเป็นคณะใหม่ ตามประกาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560 และได้ประกาศลงใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 114ง เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560 โดยกําหนดให้เป็นส่วนงานวิชาการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทําหน้าที่ จัดการศึกษาทางด้านสาธารณสุขศาสตร์ เป็นองค์กรหลักในการสร้างองค์ความรู้ด้านการสาธารณสุข มีการพัฒนาวิชาการและงานวิจัยด้าน สาธารณสุขอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการหลักสูตรอย่างเป็นเอกภาพ และตอบสนองการเปลี่ยนแปลงปัญหาด้านสุขภาพที่มีความ ซับซ้อนมากขึ้นในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มีมติแต่งตั้งให้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ เป็นคณบดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อดําเนินภาระกิจดังกล่าวตามที่สภา ฯ ได้มอบหมายต่อไป ปัจจุบันคณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้รับโอนหลักสูตรฯ จากบัณฑิตวิทยาลัยเพื่อดําเนินการเปิดสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต จํานวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต (ภาษาไทย) และหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาสุขภาพหนึ่งเดียว (หลักสูตรนานาชาติ) โดยจัดทําเป็นหลักสูตรแบบ Double Degree ร่วมกับทาง University of Minnesota ประเทศสหรัฐอเมริกา

วัตถุประสงค์

เพื่อผลิตบัณฑิตทางสาธารณสุขศาสตร์ในระดับปริญญาโท ที่มีความรอบรู้ในทางวิชาการและวิชาชีพ และพัฒนาการวิจัยและการสาธารณสุข ของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนและ สังคมในการทํานุบํารุง อนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมสุขภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม