การนำเสนอผลงานวิชาการ

การนำเสนอผลงานวิชาการ มี 2 รูปแบบ ดังนี้
1.   
การนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า
      นำเสนอด้วยวิธีการบรรยาย (Oral Presentation) โดยใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007 ขึ้นไป หรือ Canva
      ระยะเวลาในการเสนอเรื่องละไม่เกิน 15 นาที (นำเสนอ 10 นาที ตอบคำถาม 5 นาที)
      Template สไลด์สำหรับการนำเสนอแบบปากเปล่า
      ผู้ที่จะนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า ต้องส่งไฟล์สไลด์นำเสนอในรูปแบบ PowerPoint และ PDF ผ่านระบบบัญชีผู้ใช้ที่ลงทะเบียนเวบไซต์ของการประชุมเท่านั้น
      การนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า สามารถเลือกได้ทั้ง Onsite และ Online โดยจ่ายค่าลงทะเบียนเท่ากันทั้งสองประเภท
2.   
การนำเสนอผลงานวิชาการแบบโปสเตอร์
      กำหนดขนาดโปสเตอร์ 90 x 120 เซนติเมตร พิมพ์ข้อความในแนวตั้ง
      เนื้อหาในโปสเตอร์ประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้
      ชื่อผลงานวิจัย
      ชื่อ - สกุล ผู้แต่ง หน่วยงาน สถาบันที่สังกัด
      บทนำ
      วัตถุประสงค์
      ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ
      ผลการศึกษา
      อภิปรายผล/ข้อเสนอแนะ
      ผู้ที่จะนำเสนอผลงานวิชาการแบบโปสเตอร์ จะต้องเตรียมโปสเตอร์ด้วยตนเอง
      กำหนดติดโปสเตอร์ ณ สถานที่จัดการประชุม ก่อนเวลาเปิดงานในวันที่ 15 สิงหาคม 2567
      Template สไลด์สำหรับการนำเสนอแบบโปสเตอร์

การส่งผลงานวิชาการเพื่อนำเสนอ

1.   
ผู้ที่ประสงค์จะนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่าและโปสเตอร์ ให้ลงทะเบียนเพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้งานก่อน หลังจากนั้นจึงจะสามารถเข้าระบบของการประชุมฯ เพื่อส่งผลงานวิชาการโดยสามารถเลือกว่าจะส่งเฉพาะบทคัดย่อ หรือบทความวิจัยฉบับเต็มได้ ตามแบบฟอร์มออนไลน์
2.   
ผู้ที่จะนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่าและโปสเตอร์ สามารถเลือกส่งผลงานวิชาการได้ทั้งแบบเฉพาะบทคัดย่อ หรือส่งผลงานวิชาการฉบับเต็มเพื่อตีพิมพ์ลงในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Proceedings) ตามแบบฟอร์มออนไลน์ ระยะเวลาในการส่งบทคัดย่อและผลงานวิชาการฉบับเต็ม
      กรณีที่ผู้นำเสนอไม่ต้องการส่งผลงานวิชาการฉบับเต็ม หรือประสงค์จะส่งบทความฉบับเต็มไปตีพิมพ์ยังวารสารวิชาการอื่นๆ สามารถเลือกส่งเฉพาะบทคัดย่อ โดยผลงานของท่านจะปรากฎในรูปแบบบทคัดย่อเท่านั้น
3.   
การลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมฯ จะสมบูรณ์เมื่อจ่ายค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
4.   
ระยะเวลาในการส่งบทคัดย่อและผลงานวิชาการฉบับเต็ม ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2567

การพิจารณาผลงาน

คณะกรรมการวิชาการพิจารณาผลงานวิชาการมีขั้นตอนในการพิจารณาและดำเนินการ ดังนี้
1.   
พิจารณาการเลือกกลุ่มการเสนอผลงานและประเภทของการเสนอผลงาน
2.   
พิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยที่จะนำเสนอในการประชุมและที่จะรวบรวมเป็น Proceedings
      • กรณีที่ส่งผลงานวิชาการฉบับเต็มที่ตีพิมพ์ลงในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Proceedings) จะพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) 3 ท่าน
      • กรณีที่ส่งเฉพาะบทคัดย่อ จะพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 1 ท่าน
3.   
พิจารณาตัดสิทธิ์การเสนอผลงานวิจัยในการประชุม กรณี
      • บทคัดย่อ บทความวิจัย ไม่ถูกต้องตามแบบฟอร์มหรือรูปแบบที่กำหนด รวมทั้งไม่แก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
      • การลงทะเบียนและการชำระค่าลงทะเบียนล่าช้า และ/หรือไม่ครบถ้วน
4.   
กำหนดการประกาศผลการพิจารณา
      • วันที่ 24 มิถุนายน 2567

หัวข้อและขอบเขตของผลงานวิชาการ

1.   
งานวิชาการด้านนโยบายสาธารณะระดับต่างๆ ได้แก่ สาธารณสุข การปกครอง ธรรมนูญชุมชน
2.   
งานวิชาการด้านผลกระทบสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม (มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ขยะ อุตสาหกรรม และมลพิษอื่นๆ)และสุขภาพ
3.   
งานวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาหรือผลกระทบจากการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และการพัฒนาชุมชนด้านต่างๆ
4.   
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและการพัฒนานโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5.   
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ การประยุกต์ใช้ HIA ในประเด็นอื่นๆ การศึกษาระบบหรือกลไกที่เกี่ยวข้องกับ HIA การพัฒนาเครื่องมือในการประเมิน HIA
6.   
การประเมินผลกระทบอื่นๆ
      • การประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA)
      • การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Environmental Health Impact Assessment: EHIA)
      • การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA)
      • การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA)
      • การประเมินผลกระทบอื่น ๆ

การเตรียมผลงานวิชาการเพื่อส่งพิจารณา

  
เขียนเป็นภาษาไทย
  
มีองค์ประกอบดังนี้
      • ชื่อผลงานวิจัย ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
      • ชื่อ - สกุล ผู้แต่ง หน่วยงาน สถาบันที่สังกัด
      • บทคัดย่อ (ไม่เกิน 500 คำ) ประกอบด้วย เกริ่นนำ วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีวิจัย ผลการศึกษา และสรุปผล
      • คำสำคัญ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (ไม่เกิน 5 คำ)
      • บทนำ (ไม่เกิน 1000 คำ)
      • วัตถุประสงค์ (ไม่เกิน 100 คำ)
      • ระเบียบวิธีวิจัย (ไม่เกิน 2,000 คำ)
      • ผลการวิจัย (ไม่เกิน 2,000 คำ)
      • อภิปรายและสรุปผล (ไม่เกิน 2,000 คำ)
      • กิตติกรรมประกาศ (ไม่เกิน 100 คำ)
      • เอกสารอ้างอิง (รูปแบบ Vancuver ไม่เกิน 15 เรื่อง)
      • รูปและตาราง (ไม่เกิน 4 รูป) โดยตารางให้ใช้อักษร TH SarabunPSK, 16 pt และให้บันทึกเป็นไฟล์ภาพเท่านั้น
      • กรอกองค์ประกอบต่างๆ ในแบบ ฟอร์มออนไลน์